หน้าแรก
บุญชมฮอนด้า รับซ่อมรถยนต์
ซ่อมเกียร์ออโต้
เรารับซ่อมเกียร์ออโต้ทุกชนิด ทั้งเกียร์ออโต้แบบทอร์คคอนเวอร์เตอร์ รับซ่อมเกียร์ออโต้แบบCVT, เกียร์ออโต้แบบDual clutch
รับซ่อมทุกอาการ ตั้งแต่เริ่ม จากอาการเข้าเกียร์แล้วรถกระตุกแรง, เกียร์เปลี่ยนไม่สมูท, จนถึงเข้าเกียร์แล้วรถไม่เลื่อน
ตรวจเช็คความผิดปรกติของเกียร์โดยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้วิเคราะห์ได้ตรงจุดมากขึ้น จบทุกปัญหาของระบบเกียร์
ตรวจเช็คสภาพเบื้องต้นและบำรุงรักษาเกียร์ออโต้ เช่นถ่ายน้ำมันเกียร์, เปลี่ยนกรองเกียร์ออโต้, ล้างสมองเกียร์, ผ่าเกียร์, โอเวอร์ฮอลเกียร์
ทุกการซ่อมบำรุงเกียร์เรารับประกันงานซ่อม 1 ปี ไม่จำกัดระยะทาง
สอบถามข้อมูลและนัดเข้ารับการตรวจซ่อมแซมเกียร์
087-328-7219 คุณบุญชม
Line id: chomhonda
Our Services
ซ่อมช่วงล่าง
การใช้เกียร์แบบไหนที่ทำร้ายเกียร์ออโต้ของเรา
เกียร์ออโต้ แบบปกติที่เราใช้กัน แตกต่างที่ระบบภายในและการออกแบบส่วนประกอบต่างๆภายในชุดเกียร์
จำนวนเกียร์เดินหน้า รูปแบบการเปลี่ยนเกียร์ เกียร์แบบมีกล่องคุม หรือเกียร์ที่อาศัยความเร็วเพื่อเปลี่ยนเกียร์
เกียร์ออโต้แบบCVT ก็เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ที่ทำให้การเปลี่ยนเกียร์ราบเรียบ สมูทมากไม่รู้สึกถึงการต่อเกียร์เลย
เกียร์ออโต้ยุคใหม่ๆ ที่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์เอง คล้ายๆกับเกียร์ธรรมดา ถ้าเราไม่กด + - เกียร์ก็จะไม่เปลี่ยนตำแหน่ง
ปัจจุบันเกียร์ออโต้มีหลากหลายมาก แต่พื้นฐานการใช้งานยังไกล้เคียงกันอยู่
การใช้งานในชีวิตประจำวันที่ผิดวิธีอาจทำให้เกียร์ออโต้ของคุณกลับบ้านเก่าก่อนถึงเวลาอันควร
เราขอแนะนำการการใช้เกียร์ที่ไม่ถูกต้องที่เรายังใช้กันในชีวิตประจำวัน
1. รอให้รถหยุดนิ่งก่อนค่อยเปลี่ยนทิศทางของเกียร์ (เดินหน้าไปถอยหลัง หรือไปที่เกียร์ P)
การที่เราไม่รอให้รถหยุดเคลื่อนที่ก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนทิศทางของรถ ทำให้เฟืองเกียร์รับแรงอย่างหนัก จนเฟืองเกียร์อาจรูดได้
ควรรอให้รถหยุดสนิทก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนตำแหน่งและทิศทางของเกียร์
2. ออกตัวแบบรุนแรง กระชากเกียร์
การออกตัวที่รุนแรง ชุดคลัทช์ของเกียร์ออโต้และเฟืองเกียร์จะได้รับผลกระทบโดยตรง เช่นเร่งรอบที่เกียร์ว่าง แล้วดึงเกียร์มาที่ตำแหน่งD ในทันที
โดยรถสมัยใหม่นั้นจะมีการล๊อครอบออกตัวของเกียร์ไว้ เช่นเร่งเครื่องได้ไม่เกิน 5,000 รอบ/นาที กันเกียร์กระชากเพื่อป้องกันเฟืองเกียร์
ควรใช้รอบเดินเบาในการออกตัว เดินคันเร่งธรรมดา ไม่เหยียบคันเร่งแรงในทันที
3. ใส่เกียร์ที่ตำแหน่ง P ทันทีหลังจากจอด
การทำเช่นนี้จะทำให้เฟืองเกียร์รับแรงมากที่สุด ลองสังเกตุดูเมื่อเราจอดรถแล้วใส่เกียร์ที่ตำแหน่ง P ทันที
หลังจากนั้นดับรถและ กลับมาเข้าเกียร์อีกที คันเกียร์จะแข็งมากต้องใช้แรงในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์มากกว่าปกติ
ถ้าต้องการจอดรถควรขึ้นเบรคมือก่อน แล้วค่อยเลื่อนตำแหน่งเกียร์มาที่ตำแหน่ง P เพื่อให้เบรคมือช่วยหยุดตัวรถก่อน
4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์สำหรับรถที่ใช้งานหนักควรเปลี่ยนถ่ายทุกระยะ 20,000-40,000 กิโลเมตร
ในระบบเกียร์มีความร้อนและแรงเสียดทานของชุดเฟืองเกียร์ที่สูง การที่น้ำมันเสื่อมสภาพในการหล่อลื่นจะทำให้เกียร์เกิดความเสียหาย
และควรเปลี่ยนกรองน้ำมันเกียร์ออโต้ถ้าสามารถเปลี่ยนได้